วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

ไหว้หลวงพ่อโต9 วัดใน กทม

ไหว้หลวงพ่อโต 9 วัด ใน 1 วัน
สวัสดีค่ะ  ช่วงนี้ใกล้จะปีใหม่อีกแล้วนะคะ สายบุญใน กทม และปริมณฑล คงไม่พลาดที่จะเช่ารถไหว้พระกันค่ะ  ทริปนี้เราจึงขอเสนอ เช่ารถขับเองไหว้หลวงพ่อโต 9 วัดกันนะคะ










1.วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1
วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดระฆังโฆสิตารามนอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ วัดระฆังโฆสิตารามเป็น วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา
วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

ประวัติ
เดิมเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และขึ้นยกเป็นพระอารามหลวง และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชในสมัยรัตนโกสินทร์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชขึ้นที่วัดนี้
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด
ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ ๕ ลูก
พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ ๔ ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก ๓ องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก จนปรากฏว่าครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดว่า ไปวัดไหนไม่เหมือนมา วัดระฆังพอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที ด้วยเหตุนี้จึงทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์ ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ และพระประธานองค์นี้ก็ได้นามว่า พระประธานยิ้มรับฟ้า ตั้งแต่นั้นมา

พระอุโบสถ
เป็นทรงแบบรัชกาลที่ ๑ หลังคาลด ๓ ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวยสลักเสลาอย่างสวยงาม บริเวณมุขด้านหน้าและหลังทำปีกนกคลุมมุขอยู่ในระยะไขราหน้าจั่ว ตอนใต้จั่วหรือหน้าบัน ที่จำหลักลายพระนารายณ์ทรงครุฑ ประดับลายกนกปิดทองอย่างประณีต เจาะเป็นช่องหน้าต่าง ๒ ช่อง แทนแผงแรคอสองเหนือประตูหน้าต่างรอบพระอุโบสถติดกระจังปูนปั้นปิดทองทำเป็นรูปซุ้มบนบานประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำปิดทองมีรูประฆังเป็นเครื่องหมาย ด้านในเขียนภาพทวารบาลยืนแท่นระบายสีงดงาม บริเวณฝาผนังภายในพระอุโบสถโดยรอบเขียนภาพจิตรกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าฝีมืองดงามมาก โดยผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อนเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านหลังพระประธานเขียนภาพพระมาลัยขณะขึ้นไปนมัสการพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เบื้องล่างเขียนภาพสัตว์นรกในอาการต่างๆ ภาพฝาผนังส่วนที่เหลือ เบื้องบนเขียนเป็นเทพชุมนุม ตอนล่างเขียนภาพทศชาติ ซึ่งเขียนได้อย่างมีชีวิตชีวาอ่อนช้อยและแสงสีเหมาะสมกับเรื่องราว ภาพเหล่านี้เขียนโดย พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๕ ครั้งมีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถในรัชกาลนั้น


2.วัดอินทาราม ธนบุรี

วัดอินทาราม  เป็นวัดสำคัญของสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี  เป็นวัดอนุสรณ์สันติสถานที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  มหาวีระกษัตริย์ของไทยเราทรงประกอบพระราชกุศล  มีโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์เป็นชีวิตจิตใจหลายอย่าง  ที่นับว่าสำคัญน่าชมและศึกษา คือพระแท่นบรรทมไสยาสน์  เป็นพระราชอาสน์ที่พระองค์ทรงประทับแรมทรงศีลแลทรงเจริญกรรมฐาน ประวัติที่น่าศึกษาของวัดนี้คือ  เป็นที่ประดิษฐาน (ฝัง) พระบรมศพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๗  และบรมศพพระอัครมเหสีของพระองค์  ก็ได้ถวายพระเพลิงและบรรจุพระบรมอัฐิไว้ ณ วัดนี้ทั้งสองพระองค์
วัดอินทารามขณะนี้เป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร  ตั้งอยู่ที่ถนนเทอดไท  ปากคลองบางยี่เรือ  ริมคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) แขวงบางยี่เรือ  เขตธนบุรี  กรุงเทพมหานคร  (แต่เดิมหน้าวัดอยู่ทางคลองบางกอกใหญ่  แต่เมื่อตัดถนนแล้ว  จึงใช้ทางหลวงเป็นหน้าวัดด้วย)  เนื้อที่ของวัดนี้เดิมเป็นแปลงเดียวตลอดกันทั้งวัด  ต่อมาทางรถไฟสายมหาชัยได้ตัดทางเข้ามาทางหลังวัด  กินเนื้อที่วัดเข้ามาเขตตะวันออกจดคลองบางยี่เรือ (คลองสำเหร่)  และเทศบาลนครธนบุรีได้ตัดทางรถยนต์เข้ามาทางด้านตะวันออก  เฉียดกำแพงรอบนอกพระอุโบสถจดถึงลำคลองบางยี่เรือ  เพราะเหตุนี้วัดจึงแยกเป็นสองแปลง  เนื้อที่ตั้งวัดประมาณ ๑๕ ไร่ ๒ งาน  เป็นที่ธรณีสงฆ์สำหรับจัดหาผลประโยชน์บำรุงวัดประมาณ ๙ ไร่ ๒ งาน ๙๐ ตารางวา  รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๕ ไร่ 

วัดอินทารามวรวิหารเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา  เดิมเรียกว่า วัดบางยี่เรือนอกคู่กับวัดราชคฤห์ซึ่งเรียกว่า วัดบางยี่เรือใน”  วัดนี้ไม่ปรากฏว่าผู้ใดสร้างและสร้างมาแต่ครั้งใด  เพิ่งปรากฏในพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ร่วงโรยมากและเป็นวัดเล็ก ๆ อย่างบ้านนอกไกล ๆ แบบเดี๋ยวนี้  ต่อเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งเมืองธนบุรีเป็นเมืองหลวง  วัดนี้บังเอิญเป็นที่ประสพพระราชหฤทัยของพระองค์ท่าน  จึงทรงบูรณะปฏิสังขรณ์อย่างถึงขนาด  ขยายที่ทางไว้เป็นอันมาก  แล้วทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นเอกพิเศษ  ใช้เป็นที่ประกอบพระราชกุศลอย่างใหญ่ ๆ หลายครั้ง

ก่อนที่กล่าวประวัติวัดอินทารามต่อไป  ควรจะทราบหลักฐานที่มาของนามเก่าเสียก่อน  ที่เดิมเรียกวัดบางยี่เรือนอกนั้น  เพราะเมืองธนบุรีเดิมสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  ตั้งอยู่ที่วัดคูหาสวรรค์ (วัดศาลาสี่หน้า) ในคลองบางกอกใหญ่  จากเมืองเก่ามาก็ต้องถึงวัดราชคฤห์ก่อน  จึงเรียกวัดราชคฤห์ว่า วัดบางยี่เรือใน”  ส่วนวัดจันทารามอยู่กลาง จึงเรียกว่า วัดบางยี่เรือกลาง”  ถัดมาก็ถึงมาก็ถึงวัดอินทารามเรียกกันว่า วัดบางยี่เรือนอก”  การที่เรียกวัดบางยี่เรือนอก ก็เพราะในสมัยก่อนไม่ค่อยได้ตั้งชื่อวัดให้ไพเราะเหมือนอย่างสมัยทุกวันนี้  คือวัดอยู่ที่ไหนก็เรียกตามสถานที่ตำบลนั้น  และถ้าบังเอิญตำบลนั้นมีหลายวัดที่เรียกวัดใกล้ว่าวัดใน  วัดถัดออกไปว่าวัดกลาง  วัดสุดท้ายว่าวัดนอก (วัดที่เรียงกันไป)  ตามแต่ที่จะเข้าใจกันตามยุคตามสมัย  หรือเรียกตามสถานที่บางอย่าง เช่น วัดเวฬุราชิณ เรียกกันว่า วัดใหม่ท้องคุ้ง”  ก็เพราะตรงที่วัดนั้นเป็นคุ้งน้ำใหญ่ในคลองบางกอกใหญ่แห่งหนึ่ง 
มีเรื่องเล่ากันว่าพื้นที่ตามริมคลองบางกอกใหญ่ซึ่งเป็นแขวง (ตำบล) บางยี่เรืออยู่ในขณะนี้นั้น  ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีลักษณะเป็นป่าสะแกทึบ  แต่ฝั่งตรงกันข้ามเป็นที่ลุ่มมีหญ้าและกกขึ้นอยู่ในน้ำตื้น ๆ คล้ายป่าพลุ  ถ้าหากมีเรือล่องมาจากลำคลองจะต้องอ้อมคุ้งมองเห็นบริเวณป่าในระยะไกลได้ถนัด  ชายป่าริมฝั่งตรงนี้เองได้เป็นชัยภูมิของทหารไทยใช้เป็นซุ่มดักยิงเรือของข้าศึกที่ผ่านออกมาอย่างไม่ระมัดระวัง  อาการที่ซุ่มยิงอย่างนี้เรียกว่า บังยิงเรือ”  กลายเป็นชื่อตำบล(แขวง)นั้น   ต่อมาเพี้ยนเป็น บางยิงเรือ”  แล้วก็ บางยี่เรือในที่สุด
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นอันได้ความว่า  วัดอินทารามที่เรียกว่าบางยี่เรือนนอก  ด้วยเหตุตั้งอยู่ด้านนอก  เพราะนับจากเมืองธนบุรีเก่าออกมา  หลักฐานเช่นนี้จึงได้รู้ว่าวัดอินทารามได้นามว่า วัดบางยี่เรือนอก ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  เพราะปรากฏว่าครั้งสมเด็จพระชัยราชา ได้โปรดให้ขุดคลองไปต่อกับคลองบางกอกน้อย  ซึ่งส่วนที่ลัดระหว่างคลองบางกอกน้อยกับคลองบางกอกใหญ่  ถูกน้ำเซาะกลางออกไปกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในภายหลังต่อมา
นอกจากจะเคยเรียกกันว่าวัดบางยี่เรือนอก  วัดนี้ยังเคยมีชื่อเรียกกันอีกหลายอย่าง เช่น วัดสวนพลู  เพราะครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังอยู่ในพระราชสมบัติ ที่ดินใกล้เคียงวัดอินทาราม มีคนทำเป็นนา  เมื่อเลิกจากนากลายเป็นสวนขึ้นแล้วก็มีการทำสวนพลูขึ้น  ต่อมาก็เลยเรียกตามสิ่งใกล้เคียงนี้ว่า วัดสวนพลู  ปัจจุบัน กลายเป็นสวนอื่น ๆ ไปหมด  วัดใต้ ที่เรียกกันติดปากกันมาก็ได้แก่วัดบางยี่เรือใต้  เรียกตามที่ตั้งตัวเมืองเก่า  ตัดคำว่า บางยี่เรือออกเสีย  เช่นเดียวกับวัดจันทาราม  ซึ่งติดกับวัดนี้อันเคยมีนามเดิมว่าวัดบางยี่เรือกลาง  ก็เรียกว่า วัดกลางคำเดียว  ในสมัยรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์  วัดอินทารามมีชื่อเรียกว่า วัดบางยี่เรือไทย  โดยที่มีวัดบางยี่เรือรามัญ  เรียกสั้น ๆ ว่า วัดมอญ  จึงพากันเรียกวัดนี้ว่าวัดบางยี่เรือไทย  วัดนี้มาได้ชื่อว่าวัดอินทารามในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ข้อมูลทัวไป

ชื่อ : วัดอินทารามวรวิหาร (วัดใต้)
ที่อยู่ : 432 เทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กทม 10600
เบอร์โทร : 024650186,028914172



3.วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และเรียกกันต่อมาว่า "หมู่บ้านกุฎีจีน" สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร" และทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานพระราชทาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต ด้วยมีพระประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมือง อย่างเช่นวัดพนัญเชิง
หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๕ วา ๓ ศอกคืบ สูง ๗ วา ๒ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เสด็จก่อพระฤกษ์เมื่อ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๐ อยู่ภายในพระวิหารขนาดใหญ่อยู่กลางวัด ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ
พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ป่าเลไลย์) ซึ่งรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างพระราชทาน เป็น ๑ ใน ๒ วัด ของกรุงเทพมหานครที่มีพระประธานของพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ อีกแห่งคืออุโบสถวัดบางขุนเทียนใน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงพุทธประวัติ และแสดงชีวิตชาวบ้านในสมัยรัชกาลที่ ๓ และยังมีหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ ๔
หน้าวิหารหลวงเป็นหอระฆังที่เพิ่งสร้างใหม่ เก็บระฆังยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดของไทย
ที่ตั้ง     ถนนอรุณอัมรินทร์ตัดใหม่ (ถนนเทศบาลสาย3) แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร



4. วัด หัวกระบือ
ประวัติวัดหัวกระบือ
ตำนานวัดศีรษะกระบือ (วัดหัวกระบือ)  สร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด  แต่จากหลักฐานทางวัตถุโบราณและเอกสารกับทั้งข้อมูลทางด้านโบราณคดี  พอจะอนุมานได้ว่าสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย  หรืออาจก่อนหน้านั้น
ที่ตั้ง  วัดหัวกระบือ
ที่อยู่ : 3 หมู่ 7 พระราม 2 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กทม 10150
เบอร์โทร : 028972445




5.วัดยางหลวงพ่อโต
วัดยาง เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า  วัดยาง (หลวงพ่อโต)  ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕ หมู่ที่ ๙  เลขที่ ๑๑๙๗   ถนนสุขุมวิท ๗๗  ซอยอ่อนนุช ๒๓  แขวงสวนหลวง  เขตสวนหลวง  กรุงเทพมหานคร  รหัสไปรษณีย์  ๑๐๒๕๐  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  มีที่ดินที่ตั้งวัด  เดิมมี ๑๙ ไร่ ๑ งาน ๔๒ ตารางวา  โฉนดเลขที่ ๙๓๑๘   เลข  ๑๗๖๐๒๑   พ.ศ. ๒๕๓๙  พระครูโสภณพัฒนาภรณ์ และญาติโยม  ได้ซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นอีก ๒ ไร่ ๓ งาน ๔๘ ตารางวา  โฉนดเลขที่ ๓๓๕๐- ๙๑๔๐ ๑๖๕๗๔๙ ๑๖๕๗๕๐ - ๑๖๕๗๕๑
                   วัดยางเป็นวัดที่สร้างมานานแต่ยังไม่สามารถที่จะสืบค้น  เรื่องราวความเป็นมาได้  และก็รวมไปถึงประวัติของพระพุทธรูปสำคัญ  คือ  หลวงพ่อโต  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์  มีผู้เคารพนับถือกันไม่น้อย  จากรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของข้อมูลเท่าที่พอจะหาได้จากคำบอกเล่าของท่าน ผู้เฒ่า  อายุเกินกว่า ๙๐ ปี (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)  ว่าบิดาของท่านเคยบอกให้ฟังว่า  เกิดมาก็เห็นหลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ที่วัดแล้ว  และสภาพดั้งเดิมของวัดได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  จนกระทั่งไปไม่เหลือเค้าอยู่  จึงทำได้แต่สันนิษฐานจากคำบอกเล่า  และการเทียบเคียงกับวัดในละแวกใกล้ๆ กัน  ที่เป็นวัดเก่าและคิดว่ามีอายุไล่เลี่ยกัน  ในชั้นต้นนี้พอจะอนุมานไว้ก่อนว่า  เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์  มีอายุราว ๒๐๐ ปีขึ้นไป
วัดยางตั้งอยู่ริมคลองพระโขนง  เมื่อเดินทางด้วยเรือจากพระโขนงไปประเวศ  วัดจะอยู่ทางขวามือ  คำว่า วัดยางตามประวัติเล่าว่า  เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาแต่เดิม  อยู่มาเมื่อองค์หลวงพ่อโต  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักปางมารวิชัย  ได้ลอยน้ำมาหยุด  หรือมายั้ง  ยังบริเวณท่าน้ำหน้าวัด  ชาวบ้านซึ่งอยู่บริเวณรอบๆ วัดในครั้งนั้น  ซึ่งเป็นคนลาวที่อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมาก  จึงได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นไว้บูชาสักการะที่วัด  จึงได้เรียกว่าวัดยั้ง กาลต่อมาคนลาวน้อยลง  คนไทยมาอยู่อาศัยมากขึ้น  คำว่า  วัดยั้ง”  เลยเพี้ยนเป็น วัดยาง”  มาจนถึงปัจจุบันนี้  ส่วนคลองที่คนลาวมาอยู่อาศัยยังคงมีชื่อว่าคลอง  บ้านหลาย” (บ้านมาก)  ซึ่งหากจากวัดยางไปประมาณ ๖๐๐ เมตร




6.วัดบางพลีใหญ่ในเป็นชื่อของวัดพระอารามหลวงชั้นตรีที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพราะเป็นวัดที่ใช้ประดิษฐานหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัยและเป็นหนึ่งในพระสามพี่น้อง วัดแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม
วัดบางพลีใหญ่ใน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสมุทรปราการ วัดนี้อยู่ริมคลองสำโรง ห่างจากประตูน้ำ สำโรง ประมาณ 13 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 40 กว่าไร่
ทางประวัติศาสตร์ พระนเรศวรทรงยาตรากองทัพ ขับไล่ข้าศึกมาทางทิศตะวันออก ของกรุงศรีอยุธยา มาถึงตำบลหนึ่งไม่ปรากฏนาม ทางทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงตามตำรับพิชัยสงคราม เมื่อชนะสงครามแล้ว พระองค์ทรงกลับมาสร้างพลับพลานี้และเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม ต่อมา เรียกชื่อตามตำบลที่ทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงว่า ตำบลบางพลี จึงเรียกวัดพลับพลาชัยชนะสงครามว่า วัดบางพลี ต่อมามีพระองค์ใหญ่ คือหลวงพ่อโต มาประดิษฐานในอุโบสถ และมีวัดบางพลีใหญ่กลางอยู่ด้านนอก จึงเรียกวัดพลับพลาชัยชนะสงครามว่า วัดบางพลีใหญ่ใน หรือวัดหลวงพ่อโต มาจนตราบเท่าทุกวันนี้


7.วัดอินทรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมนั้น วัดอินทร มีชื่อว่า วัดบางขุนพรหมนอก ซึ่งมาจากชื่อตำบลบางขุนพรหมแห่งนี้ แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น วัดอินทรวิหาร เพื่อเป็นเกียรติแก่ เจ้าอินทร์ น้าชายของ เจ้าน้อยเขียวค่อม พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๑ ชึ่งเป็นผู้บูรณะปฎิสังขรณ์วัดใหม่คะ
เดินออกมาจากพระอุโบสถไม่ไกล ด้านข้างนั้นจะเป็น บ่อน้ำพระพุทธมนต์ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (หลวงพ่อโต) ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นบ่อน้ำธรรมดา สร้างขึ้นในสมัยที่เริ่มสร้างองค์หลวงพ่อโต แต่ชาวบ้านที่มาตักน้ำไปใช้ก็พบว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้เป็นที่นิยมของชาวบ้านมาตักน้ำพระพุทธมนต์ไปบูชาไปใช้เพื่อความเป็นสิริมงคลกันค่ะ
ที่ตั้ง : ถนนวิสุทธิกษัตริย์ เขตพระนคร แขวงบางขุนพรหม กรุงเทพฯ 10200
โทร : 02-282-3173 , 02-282-3094
การเดินทางโดยการเช่ารถ : เช่ารถขับเองจากหอสมุดแห่งชาติตรงมาทางถนนสามเสน ข้ามสะพานเทเวศร์ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เช่ารถขับเองตรงมาเรื่อยๆจนถึงใต้สะพานพระราม 8 ให้เลี้ยวซ้ายมาตามถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ จะพบซุ้มประตูทางเข้าวัดอินทร์ด้านซ้ายมือค่ะ


8.วัดวรามาตยภัณฑสาราราม(วัดขุนจันทร์)
      วัดขุนจันทร์สร้างขึ้นประมาณปี   พ.ศ. ๒๓๘๐  ในสมัยรัชกาลที่ ๓  มีอายุราว ๑๗๗ ปี   โดยท่าน    พระยามหาอำมาตยาธิบดี  (ป้อม  อมาตยกุล)  ตั้งชื่อว่า  "วัดขุนจันทร์"  เพราะผู้สร้างวัดได้รับชยัชนะจาก    เวียงจันทร์ โดยสร้างขึ้นหลังจากเสร็จศึกสงครามกับเมืองเวียงจันทร์แล้วประมาณ ๑๐ ปี  ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕  ท้าวภัณฑสารานุรักษ์(วรรณ) ธิดาคนเล็กของพระยาอำมาตย์(ป้อม) บูรณปฏิสังขรณ์ วัดขุนจันทร์ที่ทรุดโทรมแล้วขอพระราชทานชื่อวัดใหม่ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อวัดว่า "วัดวรามาตยภัณฑสาราราม" ในปี พ.ศ. ๒๔๒๖(หลังปีสร้าง ๔๖ ปี)
วิหารหลวงพ่อโต ถัดจากวิหารเจ้าแม่กวนอิมเพชรงามเข้ามา จะเป็นวิหารหลวงพ่อโต ซึ่งมีการสร้างศาลาคลุมด้านหน้าอีกชั้นหนึ่งใช้เป็นสถานที่สำหรับประชาชนได้มาทำบุญกับทางวัด เดินผ่านศาลาด้านหน้าเข้าไปจะเห็นประตูวิหารหลวงพ่อโต






9.วัดเจ้าอาม

วัดเจ้าอาม มีเนื้อที่ตั้งวัด 12 ไร่ หน้าวัดด้านทิศตะวันออก มีถนนบางขุนนนท์ตัดผ่านหน้าวัด    ตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2322 สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงสร้าง วัดเจ้าอามขึ้น ในท้องที่บ้านลุ่มเชิงเลน เขตชานเมืองธนบุรี เพื่ออุทิศพระราชกุศลให้กับพระสนมอาม หรือเจ้าอาม ซึ่งเป็นพระมเหสี

ต่อมาภายหลังพระองค์ ได้มีพระราชดำริสร้างวัดขึ้น จึงทรงแสวงหาพื้นที่เขตชานเมืองธนบุรี เพื่อทรงสร้างวัดขึ้น และในพระราชพงศาวดาร ยังกล่าวอีกว่าได้ทรงสร้างปรางค์ใหญ่ไว้องค์หนึ่ง เพื่อนำอัฐิของมเหสีอามมาบรรจุไว้เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์ด้วย

การก่อสร้างวัดเจ้าอามนี้ยังทรงสร้างไม่สมบูรณ์ เนื่องจากพระองค์ได้เสด็จไปปราบปรามชุมนุมข้าศึกต่างๆ เป็นระยะเวลายาวนานถึง 3 ปี ตลอดจนผู้ที่ก่อความไม่สงบสุขภายในประเทศ เกือบจะไม่มีเวลาเพียงพอ เพราะฉะนั้นการก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดเจ้าอาม จึงขาดช่วง ขาดการต่อเนื่องไม่สำเร็จลุล่วงไปดังพระราชหฤทัยที่พระองค์ได้ทรงตั้งปณิธานไว้ การก่อสร้างวัดเจ้าอามนี้ จึงได้ร้างมาเป็นเวลานานปี


ต่อมาในระยะหลังชาวบ้านในระแวกบ้านลุ่มเชิงเลน จึงได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาอีก ศิลปวัตถุเดิมของวัดเจ้าอามนี้ เป็นที่น่าเสียดายเพราะสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น ได้ก่อสร้างมาเป็นเวลานานปี ขาดการบูรณปฏิสังขรณ์ จึงได้ชำรุดทรุดโทรมผุพังไปตามสภาพ ทั้งนี้ถาวรวัตถุบางอย่างก็ยังคงมีสภาพเหลืออยู่บ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย วัดเจ้าอามเดิมทีเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางสวน ทางคมนาคมไม่มีผ่านการสัญจรไปมาลำบาก จึงไม่ค่อยมีผู้ที่รู้จัก พระภิกษุสามเณร ไม่ค่อยมาจำพรรษาอยู่เพราะการสัญจรไปมาลำบาก

ต่อมาจอมพลประภาส จารุเสถียร ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนายการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมด้วยท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ฝ่ายพลเรือน, ทหารและตำรวจ ได้มีจิตศรัทธานำกลองขนาดใหญ่มาถวายที่วัดเจ้าอาม พร้อมทั้งนำต้นศรีมหาโพธิ์, ต้นสาระ ที่เอกอัครราชทูตแห่งอินเดีย นำมาจากพุทธคยาประเทศอินเดีย มาปลูกที่วัดเจ้าอามนี้ เมื่อวันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2512 ซึ่งจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้บอกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ท่านได้ทรงสร้างวัดเจ้าอามนี้ขึ้น เพื่ออุทิศพระราชกุศลให้กับพระสนมอาม หรือเจ้าอาม

ทั้งนี้ จอมพลประภาส จารุเสถียร ได้มีกุศลจิตศรัทธายิ่งรับเป็นเจ้าภาพบริจาคทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์พระปรางค์ วัดเจ้าอาม ที่ชำรุดทรุดโทรมมาเป็นระยะเวลานานปี ให้มีสภาพที่มั่นคงสวยงามโดยรักษาทรวดทรงของเก่าไว้ทุกประการ ซึ่งเดิมทีมีความประสงค์จะประดับโมเสกสีทองทั้งองค์ที่จะสั่งมาจากประเทศอิ ตาลี่ แต่ทางคณะกรรมการวัดเกรงว่าต่อไปภายหน้า ถ้าเกิดการชำรุดทรุดโทรมขึ้นก็จะยากในการบูรณปฏิสังขรณ์ จึงขอเพียงแต่ทาสีขาวทั้งองค์ ในวันสมโภชพระปรางค์ จอมพลประภาส จารุเสถียร ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่ยอดพระปรางค์ด้วย พร้อมกับมีจิตดำริที่จะรับปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ของวัดที่ชำรุดทรุดโทรม ให้มีสภาพที่สวยงามมั่นคงอีกด้วย ต่อมาภายหลังเหตุการณ์ต่างๆ ทางการเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป การก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์วัดเจ้าอาม ของจอมพลประภาส จารุเสถียร จึงได้ล้มเลิกไป

วัดเจ้าอามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมามาแต่เดิม พร้อมกับการสร้างวัดประมาณ พ.ศ. 2322 ทิศเหนือยาว 118 เมตร ติดกับลำกระโดง และคลองวัดเจ้าอาม ทิศใต้ยาว 114 เมตร ติดกับลำกระโดงและที่ดินของเอกชน ทิศตะวันออกยาว 160 เมตรติดกับถนนบางขุนนนท์ ทิศตะวันตกยาว 212 เมตรติดกับลำกระโดงและที่ดินของเอกชน ที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 97 ตารางวา โฉนดเลขที่ 146 บริเวณที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่มอยู่ในสวนมีคูคลองโดยรอบ ขณะนี้ได้กลายเป็นที่จัดสรรมีหมู่บ้านประชาชนเพิ่มมากขึ้น การคมนาคมมีถนนบางขุนนนท์ ผ่านหน้าวัดทางทิศตะวันออก อาคารเสนาสนะ ประกอบไปด้วยอุโบสถ 1 หลัง วิหาร 1 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง สร้างใน พ.ศ. 2520และกุฏิสงฆ์จำนวน 16 หลัง

มีพระประธานในอุโบสถปางมารวิชัยหน้าตัก 3 ศอกเศษ หล่อด้วยโลหะ เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง, หลวงพ่อโตในวิหารเป็นศิลาแลงปางมารวิชัย หน้าตัก 3 ศอกเศษ, ปรางค์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่สวยยอดซุ้มปรางค์ได้ประดิษฐานพระ พุทธรูปยืนสูงประมาณ 3 ศอกทั้งสี่ทิศ มีพัทธเสมารอบอุโบสถเป็นพัทธเสมาคู่ ซึ่งตามปกติแล้วจะมีเฉพาะพระอารามหลวงเท่านั้น, โคมระย้าและโคมหวดแก้วในอุโบสถแขวนอยู่ที่เพดานก็เป็นของเก่าแก่ฯ